หน่วยที่ 4 เหตุผลกับภาษา


เหตุผลกับภาษา


             

simplyline11

                  

simplyline11 เหตุผลกับภาษา 
มนุษย์มีภาษาเป็นเครื่องมือในการใช้เหตุผล และในการพัฒนาสมรรถภาพการใช้เหตุผลของตนโดยอาศัยสติปัญญาความรู้และความเขาใจหลักความจริงต่างๆที่เกี่ยวข้อง นอกจากมนุษย์จะมีภาษาเป็นเครื่องมือในการใช้เหตุผลแล้ว ยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการใช้เหตุผลด้วยซึ่งเรียกว่า วิชาตรรกวิทยา
การพัฒนาศักยภาพการใช้เหตุผล หมายถึงการทำให้มีคุณภาพความหนักแน่นและความรัดกุมของการใช้เหตุผลสูงขึ้น อย่างมีหลักเกณฑ์และเป็นระบบ
เหตุผล หมายถึง ความคิดอันเป็นหลักทั่วไป กฎเกณฑ์รวมทั้งข้อเท็จจริงที่สนับสนุนข้อสรุป ข้อวินิจฉัย ข้อตัดสินใจหรือข้อยุติเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
การแสดงเหตุผลนั้น จำเป็นต้องแสดงข้อสรุปที่เหตุผลนั้นสนับสนุนด้วย จึงจะทำให้การสื่อสารเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์
โครงสร้างของการแสดงเหตุผล ประกอบด้วย ๒ ส่วนคือ
๑ ตัวเหตุผล หรือ ข้อสนับสนุน
๒ ข้อสรุป
ภาษาที่ใช้แสดงเหตุผล ควรสังเกตดังนี้
๑ การใช้สันธานมี ๒ ประเภท คือ
๑.๑ สันธานที่เรียง “เหตุผล” ไว้ก่อน “ข้อสรุป” ได้แก่ จึง,ดังนั้น…จึง,เพราะ…ฉะนั้น
๑.๒ สันธานที่เรียง “ข้อสรุป” ไว้ก่อน “เหตุผล” ได้แก่ เพราะ, เพราะว่า
๒ การเรียบเรียงข้อความ ได้วางส่วนที่เป็นเหตุผล และส่วนที่เป็นข้อสรุปไว้ให้เหมาะสมไม่ต้องใช้สันธาน การเรียบเรียงแบบนี้ใช้เมื่อต้องการให้เนื้อหาของข้อความไม่หนักเกินไป
๓ การใช้กลุ่มคำ กลุ่มคำที่ใช้นี่จะบ่งชี้ว่าข้อความที่ตามมาเป็นเหตุผลหรือข้อสรุป เช่น กลุ่มคำว่า “ขอสรุปว่า” “ที่สรุปเช่นนี้มีเหตุผลสำคัญคือ” การเรียบเรียงแบบนี้ผู้ส่งสารมุ่งจะชี้เหตุผลและข้อสรุปให้ชัดเจนลงไป
๔ การให้เหตุผลหลายๆข้อประกอบด้วย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้แกข้อสรุป
วิธีแสดงเหตุผลและการอนุมาน
การอนุมาน คือกระบวนการคิดในการหาข้อสรุปจากเหตุผลที่มีอยู่ มี ๒ ประเภทคือ
-การอนุมานด้วยวิธีนิรมัย
-การอนุมานด้วยวิธีอุปนัย
๑ การอนุมานด้วยวิธีนิรนัย คือ การแสดงเหตุผลจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย เช่น มนุษย์ทุกคนต้องการปัจจัยสี่ ฉันเป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้น ฉันต้องการปัจจัยสี่
๒ การอนุมานด้วยวิธีอุปนัย คือ การแสดงเหตุผลจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม มี ๓ ลักษณะ คือ
๒.๑ การอนุมานโดยเริ่มจากข้อสนับสนุนที่เป็นกรณีย่อยเฉพาะย่อยๆ กี่กรณีก็ได้แล้วสรุปเป็นกรณีรวม
๒.๒ การอนุมานโดยการเปรียบเทียบ เช่น เขาเล่นฟุตบอลเก่ง เหมือนพี่ของเขา
๒.๓ การอนุมาน โดยพิจารณาสาเหตุ ผลลัพธ์ สัมพันธ์กัน มี ๓ ลักษณะ คือ
การอนุมานจากสาเหตุไปหาผลลัพธ์ คือ รู้สาเหตุ แล้วอนุมานว่าสาเหตุนั้นควรทำให้เกิดผลลัพธ์อะไร เช่น นักเรียนต้องขยันทำโจทย์ในแบบฝึกหัด จึง จะสอบผ่าน
การอนุมานจากผลลัพธ์ไปหาสาเหตุ คือ รู้ผลลัพธ์ แล้วอนุมานว่าผลลัพธ์นั้นควรเกิดมาจากสาเหตุใด เช่น ผลการสอบไม่เป็นที่น่าพอใจ เพราะ ความไม่เอาใจใส่ของเขาเอง
การอนุมานจากผลลัพธ์ไปหาผลลัพธ์ คือรู้จักผลลัพธ์หนึ่งแล้วอนุมานว่าผลลัพธ์นั้นควรทำให้เกิดผลลัพธ์อื่นใดตามมาด้วย เช่น เมื่อเข้าใจคณิตศาสตร์ จึงสอบผ่านคณิตศาสตร์ และยังผ่านฟิสิกส์ด้วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หน่วยที่ 3 การเขียนที่บรรลุวัตถุประสงค์

หน่วยที่ 1 สามัคคีเภทคำฉันท์